งบเปล่าคืออะไร

รับทำบัญชี.COM | เงื่อนไขงบเปล่าคืออะไรตัวอย่างยื่น

Click to rate this post!
[Total: 202 Average: 5]

งบเปล่า 

งบเปล่า หมายถึง งบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท) แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ อาจมีรายได้ หรือค่าใช้จ่าย โดยที่เราไม่รู้ หรือรู้ แต่ไม่ได้นำมาลงบัญชี หรือจัดทำบัญชี จึงเข้าใจว่าไม่มีรายได้ และ ค่าใช้จ่าย เช่น ซื้อของ ค่าเช่า หรือค่าแรงพนักงาน เป็นต้น ซึ่งในระหว่างปีไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเราไม่มีรายการเคลื่อนไหวใดๆ เลย งบการเงินของกิจการจะถูกเรียกว่า งบเปล่า โดยปริยาย 

งบเปล่าต้องยื่นงบไหม

เพิ่มเติม : ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบ เปล่าส่งนั่นเอง

โดยช่วงที่ต้องปิดงบจะต้องมีผู้ทำบัญชีจัดทำงบขึ้นมา และให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบบัญชีพร้อมเซ็นรับรอง จากนั้นส่งให้กรรมการ (เจ้าของกิจการ) อนุมัติงบการเงิน และหลังจากอนุมัติแล้วให้นำส่งงบ เปล่านี้ให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 1 เดือน

ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมดตั้งแต่สิ้นรอบบัญชี ต้องให้เสร็จไม่เกิน 5 เดือน โดยยื่นงบการเงิน ลายเซ็นผู้สอบ และ บอจ.5 ผ่านทางออนไลน์ได้เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ส่วนกรมสรรพากร ให้ยื่นส่งงบการเงิน และ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบบัญชี

เงื่อนไขการปิดงบเปล่า

สำหรับการปิดงบที่ไม่ได้ดำเนินกิจการเพื่อส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น ผู้ประกอบการต้องศึกษาเงื่อนไขต่างๆ ที่บ่งบอกว่ากิจการของคุณต้องปิดงบการเงิน หรือปิดงบ เปล่าหรือไม่ ดังนี้

  1. ต้องไม่มีรายละเอียดต้นงวดยกมาที่เป็นสาระสำคัญ
  2. ทุนจดทะเบียนของบริษัท จะต้องไม่เกิน 5 ล้านบาท หากนอกจากนี้จะไม่ถือว่าเป็นงบ เปล่า
  3. ต้องไม่มีรายการเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคารนิติบุคคล หากงบที่มีรายการเคลื่อนไหวในธนาคาร ไม่ถือเป็นงบเปล่ าเพราะทุกรายการเคลื่อนไหว ดังนั้น ต้องนำมาบันทึกบัญชีทั้งหมด
  4. สำหรับ หจก. ที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้าน และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้าน และมีทรัพย์สินรวมไม่เกิน 30 ล้าน แบ่งเงื่อนไขเป็น 2 แบบ คือ
    • ส่งงบให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไม่ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเซ็นรับรองและแสดงความเห็น
    • ส่งงบให้กรมสรรพากร ต้องมีผู้สอบบัญชีภาษีอากรเซ็นรับรองงบการเงิน
  5. งบมียอดสินค้าคงเหลือ แม้ว่าจะไม่มีรายการซื้อ-ขายระหว่างปี แต่งบที่มีสินค้าคงเหลือนักบัญชีและผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบและบันทึกรายการปรับปรุงเกี่ยวกับรายการ จึงไม่ถือว่าเป็นงบเ ปล่า
  6. งบที่มียอดยกมาจำนวนมาก อย่างเช่นเงินจ่ายล่วงหน้ายกมา ลูกหนี้เจ้าหนี้ยกมา นักบัญชีและผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบและบันทึกรายการปรับปรุงเกี่ยวกับรายการเหมือนยอดสินค้าคงเหลือ ลักษณะนี้จึงไม่ถือเป็นงบ เปล่าเช่นกัน

อะไรคืองบเปล่า

ทำไมต้องปิดงบเปล่า

ในทางกฎหมาย หากเราเป็นนิติบุคคลแล้ว เราก็ยังจะต้องมีผู้ทำบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี และนำส่งกับกัมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรให้ถูกต้องอยู่เป็นประจำทุกๆ ปี  

โดยปกติการที่อยู่ดีๆ นิติบุคคลจะลุกขึ้มาปิดงบ โดยที่อยากจะปิดเพื่อเสียค่าใช้จ่ายคงไม่ใช้เรื่องส่วนมากจะเกิดจาก โดย “ หมายเรียกไม่ส่งงบการเงิน ” จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ก็มีบ้างที่ อยากจะปิดเอง เพื่อนำบริษัทมาใช้ประโยชน์ แต่ก็ต้องเข้าใจขั้นตอนก่อนว่า งบการเงินที่ไม่ได้จัดทำบัญชีเลย อยู่ดีๆ จะมาทำยื่นงบปีปัจุบันเลยไม่ได้แล้ว

ปัจุบัน งบการเงิน ต้องทำการยื่นทางอินเตอร์เน็ตแล้ว ระบบที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกแบบมา จำเป็นต้องอิงจากข้อมูลนิติบุคคลจากปีก่อนหน้าที่เปิดมาทั้งหมด ถ้าไม่ทำการยื่นงบการเงินปีที่ผ่านมา ปีปัจุบันก็ไม่สามารถยื่นได้

งบเปล่าคือ

หมายเหตุ : ทำให้นิติบุคคลที่ไม่ดำเนินกิจการที่เรียกกันว่า งบ เปล่า ต้องทำการปิดแล้ว ยื่นต่อ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนจึงจะดำเนินงานงบปีปัจจุบันได้

ถ้ามีปีใดปีหนึ่งเราไม่ส่งงบการเงิน เราจะโดนค่าปรับสองเรื่องทั้งเรื่องส่งงบช้า และส่งภาษีช้า (อัตราแตกต่างกันตามระยะเวลาที่ล่าช้า)

ขั้นตอนปิดงบเปล่า

  1. ตรวจสอบว่าบริษัทมีรายได้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงบ้างหรือไม่
  2. หาผู้ทำบัญชี ที่สามารถขึ้นชื่อผู้ทำเรียบร้อย อาจหาจาก
    • สำนักงานบัญชี (นิติบุคล)
    • นักบัญชี ฟรีแลนซ์ (บุคคล)
  3. เมื่อผู้ทำบัญชีทำการปิดงบเสร็จ จะส่งต่อให้ผู้สอบ (CPA) ตรวจสอบเพื่อเซ็นรับรองงบการเงิน
  4. เมื่อผู้สอบเซ็นรับรองงบการเงิน ผู้ทำจะทำการยื่นงบการเงินให้ทั้ง 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ
    • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD)
    • กรมสรรพากร (ถ้าอยู่ในระบบภาษีมุลค่าเพิ่ม)

ขั้นตอนปิดงบเปล่า

เอกสารที่เกี่ยวที่เกี่ยวข้อง

  1. สำเนาหลักฐานสำคัญของบริษัท เช่น  ใบสำคัญการจดทะเบียนบริษัท ข้อบังคับบริษัท(ถ้ามี), รายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท(ถ้ามี) / บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น(ล่าสุด) / หนังสือรับรองบริษัท(ล่าสุด) / วัตถุประสงค์ / แบบ ภ.พ.01(จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) / ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ.20) / บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
  2. แบบ ภงด.1 / ภงด.3 / ภงด.53 / ภงด51  และ ภงด. อื่นๆ  ของปีปัจจุบัน(ถ้ามี)
  3. สำเนาสมุดคู่ฝากธนาคาร(ถ้ามี) / สำเนา Bank Statement (ถ้ามี)
  4. ใบเสร็จรับเงินเกี่ยวกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (ถ้ามี)กรณีกิจการที่เคยยื่นงบการเงินแล้วในปีก่อน  ขอเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
  5. งบการเงิน / งบทดลอง / รายละเอียดประกอบงบการเงิน ปีก่อน
  6. ภงด.50 ปีก่อน

งบไม่ดำเนินกิจการต้องยื่นงบไหม

หากกิจการเป็นงบที่ไม่ได้มีการดำเนินกิจการก็ยังจำเป็นต้องยื่นงบเป็นประจำทุกปีหากไม่ยื่นงบการเงินประจำปีภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชี อาจโดนหมายเรียก

กรณีไม่ยื่นงบการเงินประจำปีภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชี ตามที่กำหนด ในมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ผู้ต้องรับโทษประกอบด้วย

  1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ในฐานะผู้จัดทำบัญชี ตามมาตรา 30 ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
  2. และหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของห้างหุ้นส่วน ตามมาตรา 40 ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
  3. อายุความ 1 ปี โดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชี

คำถาม : ยื่นงบไม่ดำเนินกิจการ 3 ปี ติดๆ ยังไม่มีรายการค้าใดเกิดขึ้น ทำอย่างไร

ตัวอย่าง : ได้รับจ้างให้ทำการปิดงบตั้งแต่ปี 53 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีรายการค้าใดเกิดขึ้น จึงเป็นงบ เปล่า บริษัทไม่ได้นำส่งงบการเงินมาตั้งแต่แรก หากผู้รับทำบัญชีจะส่งให้ผู้ตรวจสอบรับรองงบทั้ง 3 ปี คือ ปี 53 54 55 โดยทยอยยื่นภายใน 31 พ.ค. 56 เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับของกระทรวงพาณิชย์ โดยยื่นของปี 55 เข้าไปก่อน และรอให้พ้นอายุความของงบปี 54 โดยยื่นหลังจากที่ส่งงบของปี 55 ไปก่อนอยากทราบว่าทำได้หรือไม่ หรือว่าจำเป็นหรือป่าวค่ะที่จะต้องส่งของปี 54 ก่อนแล้วค่อยส่งของปี 55 ตามลำดับ และในส่วนของที่ต้องยื่นของกรมสรรพากร สามารถทำได้ในลักษณะนี้หรือป่าว

+++ สำหรับการที่จะให้ผู้สอบตรวจสอบรับรองงบทั้ง 3 ปี ถ้าตกลงกับผู้สอบแล้วผู้สอบยอม ก็ทำได้ค่ะไม่มีปัญหา ส่วนใหญ่ผู้สอบจะเซ็นงบปี 55 และจะของบปี 55 ที่ยื่นแล้วมาดูด้วยนะคะว่ายอดยกมาตรงกันหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม >> ยื่นแบบเปล่า

รับทำบัญชี งบเปล่า

รับทำบัญชี งบเปล่า

 
ยื่นงบเปล่า 3 ปี ติดๆ  ยังไม่มีรายการค้าใดเกิดขึ้น จึงเป็นงบเปล่า ?

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )